หนึ่งในรากฐานทีมลาไคย์ ต้องจารึกชื่อ “เอดูอาร์ด โฟลายัง” ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์

Eduard Folayang 062_SB_ONE_KOD_Manila_210417_DSC_7051 e1513952582983

“Landslide” เอดูอาร์ด โฟลายัง พี่ใหญ่ค่ายกางเกงแดงแห่งแดนตากาล็อก ไม่ได้สวมบทบาทเพียงนักกีฬาแถวหน้าตัวแทนค่ายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการสร้างรากฐานอันแข็งแกร่ง และกรุยทางให้นักสู้รุ่นน้องในทีมก้าวสู่ความสำเร็จบนเวทีระดับโลกอีกด้วย

 

Shinya Aoki Eduard Folayang 1920X1280 ONE on TNT IV 12.jpg

เอดูอาร์ด โฟลายัง

 

ชื่อของ เอดูอาร์ด ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติฟิลิปปินส์ ในฐานะฮีโรเจ้าของเหรียญทองกีฬาวูซูซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ ทั้งยังได้รับการขนานนามว่าเป็นนักกีฬาศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของประเทศ ด้วยดีกรีอดีตแชมป์โลก ONE รุ่นไลต์เวต 

แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้คือ เอดูอาร์ด เป็นหัวหอกสำคัญที่วางรากฐาน “ทีมลาไคย์” สถาบันฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ที่ผลิตนักกีฬาคุณภาพคับแก้วอันลือชื่อ เคียงบ่าเคียงไหล่ “มาร์ค ซานเกียว” เพื่อนนักกีฬาและหัวหน้าโค้ชคนปัจจุบันตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

 

Mark Sangiao ADUX0335e web.jpg

มาร์ค ซานเกียว

 

ย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน มาร์ค ซานเกียว เป็นนักกีฬาทีมชาติวูซูที่เพิ่งคว้าเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ปี 2001 แต่ด้วยความสนใจในกีฬาการต่อสู้ผสมผสาน เขาจึงร่วมมือกับสหพันธ์วูซูแห่งเมืองบาเกียวผลักดันกีฬานี้ และได้ เอดูอาร์ด ซึ่งขณะนั้นมีภารกิจเป็นนักกีฬาทีมชาติวูซู และเป็นอดีตเพื่อนนักกีฬาของ มาร์ค มาช่วยสอนเป็นครั้งคราว พร้อมกับก่อตั้งยิมสำหรับนักกีฬาอาชีพในนาม “ทีมลาไคย์” ซึ่งจดทะเบียนขึ้นในปี 2549

จากนั้นไม่นาน เอดูอาร์ด ตัดสินใจลงแข่งขันในกีฬาการต่อสู้ผสมผสานครั้งแรก และคว้าแชมป์ URCC รุ่นเวลเตอร์เวตมาครองในปี 2550 ซึ่งนั่นคือแรงผลักสำคัญให้เขาหันมาเอาดีในกีฬานี้อย่างเต็มตัว

 

Folayang Sangiao ADUX0320e web.jpg

เอดูอาร์ด – มาร์ค

 

ก้าวแรกของ ทีมลาไคย์ เต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน พวกเขาใช้พื้นที่ชั้นบนของร้านขายเนื้อ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตลาดในเมืองบาเกียวเป็นที่ตั้งยิม โดยมีอุปกรณ์การซ้อมไม่มากนัก ทำให้การพัฒนานักกีฬาเป็นไปอย่างล่าช้า แต่พวกเขาก็ปั้นนักกีฬาและลงแข่งล่าแชมป์เพื่อสร้างเครดิตให้กับยิมได้

ทำให้ในไม่ช้า ทีมลาไคย์ ก็เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับว่าเป็นสถาบันฝึกศิลปะการต่อสู้ชั้นนำของฟิลิปปินส์ และได้รับความสนใจของผู้จัดการแข่งขันทั่วเอเชีย

 

Team Lakay's Eduard Folayang, Geje Eustaquio, Kevin Belingon, and Honorio Banario post in the Philippines

(จากซ้าย) เอดูอาร์ด, เจเฮ, เควิน, โฮโนริโอ นักกีฬารุ่นแรกของทีมลาไคย์

 

ในฐานะนักรบแถวหน้าของทีม เอดูอาร์ด นำร่องลงสนามการต่อสู้ระดับโลก วัน แชมเปียนชิพ ในปี 2554 ก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะทยอยตบเท้ากันเข้ามา และปรากฏว่านักสู้ ทีมลาไคย์ กวาดเข็มขัดแชมป์โลก ONE กลับค่ายได้ทั้งหมด 5 เส้น จากฝีมือของ โฮโนริโอ บานาริโอ, เอดูอาร์ด โฟลายัง, เจเฮ อุสตาคิโอ, โจชัว พาซิโอ และ เควิน เบลิงกอน

โดยในปี 2561 ถือเป็นปีแห่งความรุ่งโรจน์สูงสุดของ ทีมลาไคย์ เมื่อพวกเขาส่งท้ายปีด้วยเข็มขัดแชมป์โลก ONE ที่ถือครองอยู่ถึง 4 เส้นในปีนั้น

 

Team Lakay DC 6999.jpg

ทีมลาไคย์ ส่งท้ายปี 2561 ด้วยเข็มขัด 4 เส้น

 

แม้ปัจจุบัน ทีมลาไคย์ จะเหลือเข็มขัดแชมป์โลก ONE ของ โจชัว ประดับค่ายเพียงเส้นเดียว แต่ทุกคนในทีมยังผนึกกำลังความสามัคคี ปลุกปั้นนักกีฬาหน้าใหม่อีกหลายคน อาทิ สเตฟาน โลมาน, เจเนลีน โอลซิม, ลิโต อาดิวัง และ เจเรมี ปาคาทิว ซึ่งเป็นลูกของ มาร์ค ซานเกียว

ด้าน อดีตแชมป์โลก ONE รุ่นไลต์เวต เอดูอาร์ด ผู้ร่วมสร้างตำนานทีมลาไคย์ และพี่ใหญ่ของค่ายก็ยังไม่หยุดล่าความสำเร็จ โดยในศึก ONE: BATTLEGROUND II ซึ่งเป็นเทปการแข่งขัน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคมนี้ เขาต้องเจอคู่ต่อกรระดับซุปตาร์จากแดนมังกรอย่าง “จาง หลีเผิง” ซึ่งเราจะได้รู้กันว่า เอดูอาร์ด จะสามารถเรียกคืนศรัทธา และกลับสู่เส้นทางแห่งความรุ่งโรจน์ได้อีกครั้งหรือไม่?

 

Team Lakay ADUX9715e web.jpg

 

อ่านเพิ่มเติม: 

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

Youngest_Champions ONE 1920x1278
ZZZ_5900 scaled
OL 58 Jaosuayai vs Kongthoranee (30)
Jake Peacock web
OFN11   Regian Eersel vs Dmitry Menshikov44
ONE_TH adhoc 1920x1278 (1)
Kade and Tye Ruotolo
Untitled
Ryosuke Honda vs Sanzhar Zakirov OL 54(10)
Female Champs
Ricardo Bravo vs Kenan Bayramov OL50 (28)
Nong O Hama Jonathan Haggerty ONE Fight Night 9 4