“วิตาลี บิกแดช” กับการเริ่มต้นคาราเต้สายเคียวคุชิน ก่อนจะเป็นแชมป์โลกการต่อสู้แบบผสมผสาน

Vitaly Bigdash 006_SB_ONE_0118_VitalyBigdash_Phuket_DSC_8874

“วิตาลี บิกแดช” อดีตแชมป์โลก ONE รุ่นมิดเดิลเวตชาวรัสเซีย ผู้สร้างปรากฏการณ์ความเดือดให้กับสังเวียนการต่อสู้ระดับโลก เขามีชีวิตในวัยเด็กที่ต้องย้ายตามพ่อที่เป็นทหารไปทั่วประเทศ จนทำให้เขาได้พบกับเป้าหมายในชีวิตเมื่อได้รู้จักศิลปะการต่อสู้ที่มีชื่อว่า “คาราเต้สายเคียวคุชิน” และนั่นคือจุดเริ่มต้นก่อนที่เขาจะเป็นแชมป์โลกในเวลาต่อมา

ฮีโร่จอเงิน

Vitaly Bigdash IMG 20170610 WA0010.jpg

วิตาลี บิกแดช เกิดที่เมืองโอเรนบุร์ก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย ใกล้กับพรมแดนติดกับประเทศคาซัคสถาน เขาไม่ได้อยู่ที่นั่นนานนัก เพราะครอบครัวของเขาต้องย้ายถิ่นฐานไปทั่วประเทศเป็นประจำ เนื่องจากพ่อของเขารับราชการเป็นทหารและทำงานในออฟฟิส

เด็ก 5 ขวบอย่าง บิกแดช หลงใหลภาพยนตร์แอ็กชันศิลปะการต่อสู้ที่ฮิตระเบิดในยุค 80 เช่นเดียวกับหนุ่มสาวรัสเซียแทบทุกคน ถึงแม้เขาจะยกย่องฮีโร่ในจอภาพยนตร์ แต่สำหรับเด็กน้อยอย่างเขากลับมองไม่เห็นลู่ทางใดๆ ที่จะเป็นได้อย่างพระเอกในหนังเลย

ตอนผมยังเด็ก คนรัสเซียฮิตดูหนังต่อสู้กันมาก พวกเราทุกคนอยากเป็นอย่าง ‘ชัค นอริส’ หรือ ‘ฌอง-คล็อด แวนแดม’ กันทั้งนั้น โดยเฉพาะผม ประทับใจท่าเตะของ แวนแดม สุดๆ”

ผมตกหลุมรักศิลปะการต่อสู้ ตั้งแต่ผมได้ดูภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย บรูซลี ผมจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว แต่จำได้ดีว่าผมติดมันงอมแงม และอยากเป็นให้ได้เหมือนเขา

ความคิดที่ว่าการจะเป็นนักสู้เหมือนอย่างฮีโร่ในภาพยนตร์ มันเริ่มใกล้ตัวเข้ามา เมื่อพ่อของเขาต้องย้ายไปอีกเมืองในอีก 4 ปีต่อมา

ความหลงใหลในศิลปะการต่อสู้

Vitaly Bigdash 011_SB_ONE_0118_VitalyBigdash_Phuket_DSC_8864.jpg

เพื่อนร่วมงานใหม่ของพ่อได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับเล็กๆ ให้ บิกแดช และครอบครัวหลังจากที่ย้ายไปอยู่อีกเมือง พวกเขาทำงานเป็นทหารเหมือนกัน และก็มีความรักในศิลปะการต่อสู้เอามากๆ

คนหนึ่งเอาเทปการฝึก ‘เคียวคุชินไค’ ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคาราเต้จากญี่ปุ่นมาเปิดให้ดู ในช่วงนั้นถือเป็นศิลปะการต่อสู้ยอดนิยมของคนรัสเซีย พวกเราฝึกกันในโรงรถ สวนหลังบ้าน หรือแม้แต่ในโรงยิม

“พวกเขาบอกเราว่ามีโรงยิมใกล้ๆ อยู่แถวที่เราอาศัย ซึ่งผมสามารถเข้าไปฝึกได้เป็นครั้งคราว”

ไม่รอช้า บิกแดช เข้าไปที่ยิมแห่งนั้น โดยเริ่มเรียน “เคียวคุชินไค” คลาสแรก และทำให้เขาถึงกับหลงใหลได้ปลื้มมันอย่างมาก เขารู้ทันทีว่านี่คือสิ่งที่จะดึงความสนใจของเขาได้ไปอีกนานหลายปี

ผมรักทุกอย่างเกี่ยวกับมัน รวมถึงบรรยากาศในยิม ทั้งที่สภาพในตอนนั้นเราแทบจะเรียกมันว่ายิมไม่ได้เลย ถ้าเทียบกับยิมในยุคนี้ เอาเป็นว่าผมชอบใส่ชุดคาราเต้จริงๆ (หัวเราะ)”

จากเมืองสู่เมือง ครอบครัวของเขายังคงย้ายไปเรื่อย ศิลปะการต่อสู้ที่ติดตัว บิกแดช ช่วยเขาได้มากในยามที่ต้องตกเป็นเป้าหมายในฐานะเด็กใหม่ในโรงเรียน

ผมไม่ยอมให้ใครมารังแกผมได้ บางครั้งก็มีการต่อยตีกันบ้าง เป็นเรื่องปกติในวัยนั้นอยู่แล้ว ถึงวันนี้ผมว่าผมโชคดีนะที่การย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ทำให้ผมมีเพื่อนอยู่ทั่วรัสเซียเต็มไปหมด”

เข้าสู่สังเวียน

บิกแดช นำความคลั่งไคล้ที่มีต่อ เคียวคุชินไค ไปปล่อยบนสังเวียนการแข่งขัน และคว้าชัยชนะในระดับท้องถิ่นและระดับภาคหลายรายการ

นอกจากนั้นเขายังเริ่มหันมาสนใจในกีฬาการต่อสู้แขนงอื่นอย่าง มวยไทย และศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ซึ่งสามารถนำวิชา เคียวคุชินไค มาต่อยอดได้อีกด้วย

ผมจำได้ว่า ผมเคยดูการแข่งขันศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานครั้งแรกในปี 2537 และ 2538 ผมชื่นชอบ ‘รอยซ์ เกรซี’ มาก”

“ผมพยายามฝึกทั้งยืนสู้และมวยปล้ำ จนผมได้รู้ว่าศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน มันคือจุดสูงสุดของศิลปะการต่อสู้ เพราะมันใกล้เคียงกับการต่อสู้ในชีวิตจริง และผมสนุกกับการฝึกฝนทุกอย่างของมัน”

เส้นทางของ บิกแดช ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเขาตัดสินใจผันจากนักสู้สมัครเล่นเป็นนักสู้อาชีพในปี 2555

ผมไม่มีความสนใจหรืองานอดิเรกอื่นนอกจากโลกของศิลปะการต่อสู้ ผมจะไม่ยอมเป็นอย่างอื่นนอกจากเป็นนักสู้ ผมพบว่ามันง่ายต่อการรักษาวินัยในการฝึกฝน เพราะผมเป็นคนที่มุ่งเน้นเป้าหมาย ผมโฟกัสกับเป้าหมายต่อไป และไม่หยุดจนกว่าผมจะได้มันมา”

ก้าวสู่ วัน แชมเปียนชิพ

ในการขึ้นสังเวียนระดับอาชีพครั้งแรกของ บิกแดช ในเดือนสิงหาคม 2555  เขาสยบคู่ต่อสู้ด้วยท่าอาร์มบาร์ตั้งแต่กยกแรก ก่อนที่จะเก็บชัยชนะตามมาอีก 7 ครั้งซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการปิดเกมแบบไม่ครบยก และนั่นทำให้เขาได้ก้าวสู่เวทีระดับโลก วัน แชมเปียนชิพ

นัดเปิดตัวของเขาใน วัน แชมเปียนชิพ เป็นการชิงตำแหน่งแชมป์โลก ONE รุ่นมิดเดิลเวตกับ “อิกอร์ สวิริด” ในเดือนตุลาคม 2558 และศึกนั้นนับได้ว่าเป็นหนึ่งการต่อสู้ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน โดย บิกแดช แสดงให้เห็นถึงความเหนือมนุษย์ที่ไม่ว่าจะถูกซัดล้มลงกี่ครั้งก็ตาม เขาก็จะลุกขึ้นมาก่อนที่จะเอาคืนและคว้าชัยชนะไปอย่างงดงาม

หลังการแข่งขันในปี 2015 บิกแดช ต้องร้องเพลงรอไปกว่าหนึ่งปีเพื่อกลับมาลงแข่งอีกครั้งในนัดป้องกันตำแหน่งของตัวเอง แต่ดูเหมือนว่าเขาต้องเคาะสนิมออกเสียหน่อย เมื่อต้องใช้เวลากำราบคู่แข่งจอมแกร่งจากเมียนมาอย่าง “Burmese Python” ออง ลา เอ็น ซาง ถึงห้ายก ในเดือนมกราคม 2560

เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน นักสู้ชาวรัสเซียเดินทางไปที่ถึงถิ่นของฮีโร่ชาวเมียนมาอดีตคู่ปรับเก่าเพื่อเปิดศึกล้างตา แต่ครั้งนี้เขาพบกับผลลัพธ์ที่ผิดคาด เมื่อเขากลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เดินลงจากสังเวียนอย่างไร้เข็มขัด ซึ่งศึกนี้จัดว่าเป็นไฟต์แห่งปี 2560 เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม หลังความผิดหวัง บิกแดช ปฏิญาณกับตัวเองว่าจะหาโอกาสแก้มือคู่ปรับเก่ารายนี้ให้ได้ แม้เขาจะต้องเสียเวลาไปนับปีเพื่อต่อสู้กับอาการป่วยและบาดเจ็บของตัวเอง

ผมไม่ได้ถือลูกแก้วทำนายโชคในมือ เลยบอกคุณไม่ได้ว่าถ้าเจอกันครั้งหน้าผลมันจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ เราเห็นไส้เห็นพุงกันมาแล้ว มันจะเป็นการต่อสู้ที่ดุเดือดเลือดพล่านกว่าสองครั้งแรกอย่างแน่นอน”

อ่านเพิ่มเติม

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

Youngest_Champions ONE 1920x1278
ZZZ_5900 scaled
OL 58 Jaosuayai vs Kongthoranee (30)
Jake Peacock web
OFN11   Regian Eersel vs Dmitry Menshikov44
ONE_TH adhoc 1920x1278 (1)
Kade and Tye Ruotolo
Untitled
Ryosuke Honda vs Sanzhar Zakirov OL 54(10)
Female Champs
Ricardo Bravo vs Kenan Bayramov OL50 (28)
Nong O Hama Jonathan Haggerty ONE Fight Night 9 4