Flashback Friday: “เดชดำรงค์” ถอนความคิด MMA ล้มแล้วซ้ำ ไม่ใช่กีฬาลูกผู้ชาย

Dejdamrong _66a2939

สิบกว่าปีที่ผ่านมา กีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ MMA ก็ดี มวยกรง ก็ดี คือภาพจำในแง่ลบของกีฬาซึ่งมีความรุนแรง ล้มแล้วลงไปซ้ำ ไม่เว้นแม้แต่ “เดชดำรงค์ ส.อำนวยศิริโชค” ตำนานแชมป์โลกมวยไทยเวทีลุมพินี 3 รุ่น และอดีตแชมป์โลก ONE รุ่นสตรอว์เวต ก็เป็นคนหนึ่งที่เคยคิดเช่นนั้น

“แต่ก่อนผมเคยมองว่ากีฬาการต่อสู้ประเภทนี้ไร้ซึ่งศักดิ์ศรี มันล้มแล้วซ้ำได้ ไม่เหมือนมวยไทยที่ล้มแล้วไม่ซ้ำ” 

 

Dejdamrong DUX 0484.jpg

 

เมื่อ ครูรงค์ ได้ถูกทาบทามให้ไปเป็นโค้ชสอนมวยไทยประจำยิมสอนศิลปะการต่อสู้ใหญ่ที่สิงคโปร์อย่าง Evolve ทำให้เขาได้พบกับนักกีฬาการต่อสู้แขนงอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมวยปล้ำ มวยสากล และบราซิลเลียนยิวยิตสู (BJJ) หลังจากได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน ครูรงค์ จึงเริ่มเปิดใจ ทลายกำแพงอคติ และอยากท้าทายความสามารถของตนเอง

“วันหนึ่งผมก็ค้นพบว่า มวยไทย ยังไม่ใช่ที่สุดของการต่อสู้ ยิ่งถ้าเป็นการนอนสู้ยิ่งแล้วใหญ่ ผมไม่รู้ว่าต้องป้องกันตัวเองอย่างไร และต้องออกอาวุธแบบไหนเวลาที่เราอยู่บนพื้น ผมจึงเริ่มหันมาเรียน BJJ บ้าง”

ในชีวิตจริงนั้นหากเกิดสถานการณ์ที่เราจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อป้องกันตัว ย่อมต้องใช้ทักษะทั้งการยืนสู้และนอนสู้เข้ามาผสมผสานกันตามแต่สถานการณ์ ดังนั้นการเรียนรู้วิชาการต่อสู้อย่างหลากหลายจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์แขนงนี้อย่างจริงจัง

 

 

อย่างไรก็ตาม ครูรงค์ ได้ต่อยอดวิชาการต่อสู้โดยนำวิชามวยไทยผสมผสานกับบราซิลเลียนยิวยิตสูที่ร่ำเรียนมา ลงสนามแข่งขันในกีฬาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) และประกาศศักดาของนักกีฬาไทยให้โลกรับรู้ว่า เราไม่แพ้ชาติใดในโลก ด้วยการครองบัลลังก์ แชมป์โลก ONE รุ่นสตรอว์เวต เป็นคนแรกของรายการ วัน แชมเปียนชิพ ซึ่งเป็นองค์กรศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นคนแรกของประเทศไทย

แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อ ครูรงค์ ขึ้นป้องกันตำแหน่งครั้งแรกในประเทศบ้านเกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ในศึก ONE: KINGDOM OF CHAMPIONS โดยเผชิญหน้ากับคู่แข่งขันชาวอาทิตย์อุทัย “NOBITA” โยชิตากะ นาอิโตะ ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความเก่งกาจและเชี่ยวชาญในเกมภาคพื้น 

จังหวะหนึ่งที่เขาปล่อยหมัดใส่ นาอิโตะ จนลงไปกองกับพื้น ซึ่งในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสานนั้นสามารถตามเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้บนพื้นได้ แต่กลายเป็นว่า ครูรงค์ เลือกที่จะไม่เข้าไปทำ แต่กวักมือเรียกให้อีกฝ่ายลุกขึ้นมายืนสู้กันใหม่ และสุดท้าย ครูรงค์ ก็พ่ายเสียแชมป์ในบ้านเกิด

 

https://www.youtube.com/watch?v=fXzBsnK4VZw

 

เหตุการณ์นี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้แฟนๆ หลายคนมองว่า…หรือ ครูรงค์ ยังตะขิดตะขวงใจกับการล้มแล้วซ้ำคู่ต่อสู้กันแน่?

“จริงๆ ที่ผมไม่ตามไปซ้ำ เพราะจังหวะนั้นผมรู้ว่าหมัดที่ผมปล่อยออกไปมันไม่ได้รุนแรงถึงขนาดที่จะทำให้คู่ต่อสู้ล้มได้ มันเป็นแผนของเขาที่อยากจะดึงเราลงไปเล่นในเกมนอนสู้ที่เขาถนัด ซึ่งจะทำให้ผมเสียเปรียบกว่า”

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบัน ครูรงค์ จะเสียเข็มขัดแชมป์ไปแล้ว แต่เขายังหมั่นฝึกฝนวิชาการต่อสู้แขนงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และได้ใช้ความรู้ที่สั่งสมมาถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้กับลูกศิษย์ลูกหาและนักกีฬารุ่นใหม่ๆ ต่อไป ทั้งยังมีความหวังว่าสักวันเข็มขัดแชมป์โลก ONE จะกลับมาอยู่บนบ่าอีกครั้ง

 

34155940_10211275418272561_6705547983284338688_n.jpg

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

Cover_OFN22_WeiRui06
Youngest_Champions ONE 1920x1278
ZZZ_5900 scaled
OL 58 Jaosuayai vs Kongthoranee (30)
Jake Peacock web
OFN11   Regian Eersel vs Dmitry Menshikov44
ONE_TH adhoc 1920x1278 (1)
Kade and Tye Ruotolo
Untitled
Ryosuke Honda vs Sanzhar Zakirov OL 54(10)
Female Champs
Ricardo Bravo vs Kenan Bayramov OL50 (28)