วันสตรีสากล ยกเรื่องราวหญิงไทยสุดแกร่ง “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” เป็นแบบอย่างผู้หญิง พ.ศ.นี้

OFN6 stamp vs supergirl 45 1

ย้อนเรื่องราวชีวิตและเส้นทางการฟันฝ่าอุปสรรคจากนักมวยรากหญ้าสู่นักสู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ของซูเปอร์สตาร์หญิงแกร่ง “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์”


วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสตรีสากล” เป็นอีกวันที่ทำให้ผู้คนทั่วโลก ได้ระลึกถึงสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านจริยธรรม ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ก็ตาม

ทั้งนี้เราขอยกเรื่องราวของสาวไทยสุดแกร่งในพ.ศ. นี้ “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” อดีตแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่งและมวยไทย รุ่นอะตอมเวตหญิง (105-115 ป.) และยังพ่วงตำเเหน่งแชมป์ ONE เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นอะตอมเวตหญิงอีกด้วย ซึ่งกว่าจะกลายมาเป็นซูเปอร์สตาร์หญิงและประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้เธอต้องผ่านทั้งร้อนหนาวมามากมาย


image
แสตมป์ แฟร์เท็กซ์ ในวัยเด็ก


เริ่มจากในวัยอนุบาลสาวน้อยจากระยองมักถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียนเพราะรูปร่างที่เล็กกว่าคนอื่น แต่เมื่อพ่อของเธอเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อ “วิสันต์เล็ก ลูกบางปลาสร้อย” ส่วนลุงมีค่ายมวยเล็ก ๆ เป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า “เกียรติบุญเกิน” เธอจึงมีความคิดที่จะซ้อมมวยไว้เพื่อป้องกันตัวเองจากการโดนกลั่นแกล้ง

แต่พรสวรรค์ของ “แสตมป์” ก็เริ่มฉายแวว เธอมุมานะเกินกว่าที่จะใช้ทักษะมวยไทยไว้เพียงเพื่อป้องกันตัว และมีโอกาสขึ้นสังเวียนการแข่งขันครั้งแรก โดย “แสตมป์” โชว์ผลงานน็อกคู่ต่อสู้ได้ตั้งแต่ยกแรก ยิ่งเป็นการตอกย้ำความตั้งใจให้เธอเลือกเดินในเส้นทางนักสู้ตั้งแต่นั้นมา

แม้ “แสตมป์” จะออกเดินสายแข่งจนได้เป็นแชมป์ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ด้วยมวยหญิงในขณะนั้นไม่ได้เป็นที่นิยม ทำให้โอกาสขึ้นชกน้อยลง และยังวนเวียนเจอแต่คู่ชกซ้ำ ๆ หาคู่ชกยากขึ้นเรื่อย ๆ “แสตมป์” จึงตัดสินใจหยุดชกมวยไปถึง 8 ปี



และแล้วเส้นทางนักสู้ของ “แสตมป์” ก็เริ่มต้นอีกครั้งเมื่อเธอได้เข้าร่วมค่ายดังแห่งเมืองพัทยาอย่าง “แฟร์เท็กซ์” ในฐานะนักกีฬาศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ซึ่งกำลังเป็นนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ โดยถูกวางตัวให้เป็นนักกีฬาหญิง MMA ความหวังคนแรกของค่ายตั้งแต่ตอนนั้น

แม้จะมีความรู้ด้านการต่อสู้ MMA เป็นศูนย์ แต่ด้วยพื้นฐานการต่อสู้ด้านมวยไทย และได้โค้ชมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการฝึกซ้อม บวกกับความพยายามของ “แสตมป์” ทำให้เธอพัฒนาฝีมือและทักษะอย่างรวดเร็ว


แสตมป์ ในรายการ Rich Franklin’s ONE Warrior Series


หลังจากฝึกปรือวิชา MMA ได้พอตัว “แสตมป์” ได้โอกาสขึ้นเวทีเพื่อพิสูจน์ตัวเองในฐานะผู้เข้าร่วมการแข่งขันรายการ  Rich Franklin’s ONE Warrior Series  ซึ่งเป็นสังเวียนค้นหานักกีฬาดาวรุ่งจากระดับรากหญ้าที่มีความสามารถโดดเด่นเพื่อเข้าร่วมสังกัดของ ONE

โดยเวที OWS ถือว่ามีความสำคัญมากกว่าเป็นเวทีค้นหานักสู้หน้าใหม่จากทั่วโลก แต่ยังเป็นการส่งเสริมวิชาศิลปะการต่อสู้จากรากหญ้าของแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเทศ และเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนนับล้านทั่วโลกด้วยเรื่องราวของความหวัง ความแข็งแกร่ง และความฝันของเหล่านักกีฬาที่ผ่านเวทีนี้



ในไฟต์แรก “แสตมป์” ก็สร้างผลงานชนะน็อกคู่ต่อสู้ด้วยลูกเตะก้านคอภายในเวลาเพียง 12 วินาทีของยกแรก จนถูกดึงตัวให้เป็นนักกีฬาภายใต้สังกัดของ ONE หลังจากนั้นทันที

หลังจากนั้น “แสตมป์” ก็ได้โอกาสประเดิมไฟต์แรกใน ONE ด้วยการเป็นผู้ท้าชิงเข็มขัดแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวตกับกับ “ไค่ ถิง ฉวง”ผู้เป็นแชมป์โลกในขณะนั้นและกระชากเข็มขัดแชมป์โลก ONE เส้นนี้มาครองได้เป็นเส้นแรก


image 1
แสตมป์ แฟร์เท็กซ์


สี่เดือนต่อมา “แสตมป์” ได้โอกาสชิงเข็มขัดแชมป์โลกอีกเส้น ซึ่งคราวนี้เป็นกติกามวยไทยที่เธอถนัด โดยต้องปะทะฝีมือกับ “เจเน็ต ท็อดด์” ที่มีอายุมากกว่าเธอถึง 12 ปี ตลอด 5 ยกทั้งคู่ต่างขับเคี่ยวกันสุดดุเดือด และท้ายที่สุด “เเสตมป์” ก็คว้าเข็มขัด ONE มวยไทย รุ่นอะตอมเวต มาครองได้เป็นคนแรกของรายการ

แม้ต่อมา “แสตมป์” จะเสียเข็มขัดทั้งสองเส้นไป แต่เธอก็ตั้งเป้าหมายใหม่หันกลับมาเอาดีในสาย MMA โดยตะลุยสร้างฟอร์มชนะ 4 ไฟต์รวดจนได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 สาวแกร่งในทัวร์นาเมนต์ MMA ลุยศึก ONE เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นอะตอมเวตหญิง


image 2
แสตมป์ แฟร์เท็กซ์


เธอฝ่าด่านคู่แข่งมากฝีมือ ทะลุถึงรอบชิงชนะเลิศ และเอาชนะ “ริตู โฟกาต” สาวนักปล้ำจากอินเดียในยกที่สอง ลบคำสบประมาทเกี่ยวกับทักษะ MMA ของเธอ ประกาศศักดานักกีฬาหญิงไทยคนแรกที่ได้ครองเข็มขัดเงินสุดเลอค่านี้ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.64

ส่งให้เธอได้สิทธิ์ขึ้นชิงแชมป์โลกกับราชินีอะตอมเวต “แองเจลา ลี” แม้จะไม่สามารถกระชากแชมป์ได้ แต่ “แสตมป์” ได้แสดงให้เห็นแล้ว ว่าแม้จะเพิ่งเริ่มต้นในสาย MMA เพียงไม่กี่ปี แต่เธอสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดจนได้รับการยอมรับว่าเป็นนักสู้ MMA หญิงแถวหน้าของรุ่น พิสูจน์ได้จากรางวัล “นักสู้ MMA หญิงยอดเยี่ยม” ประจำปี 2564



ระยะเวลา 4 ปีใน ONE ของ “แสตมป์” ยังทำให้เธอก้าวจากนักมวยโนเนมสู่นักสู้ระดับซูเปอร์สตาร์ หาเงินได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถขยายกิจการสวนทุเรียนของครอบครัวได้อีกด้วย

จากสาวน้อยที่ถูกเพื่อนแกล้งสู่ซูเปอร์สตาร์หญิงระดับโลก “แสตมป์” ในวัย 25 ปีแสดงให้เห็นถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงคนหนึ่งที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามที่ใจต้องการ


image 3.png
แสตมป์ vs อลิส


อย่างไรก็ตาม “แสตมป์” กำลังกลับไปปั้นฟอร์มท้าชิงบัลลังก์ราชินีอะตอมเวต “แองเจลา” อีกครั้งโดยครั้งนี้ “แสตมป์” จะบินลัดฟ้าลุยศึกใหญ่ที่ ONE ยกพลไปจัดการแข่งขันในดินแดนพญาอินทรีเป็นครั้งแรก  โดยมีคิวดวลเดือดกับ “Lil’ Savage” อลิส แอนเดอร์สัน ในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) รุ่นอะตอมเวต (115 ป.) ในศึก ONE FIGHT NIGHT 10 ซึ่งจะถ่ายทอดสดจาก เฟิร์สแบงก์ เซ็นเตอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกาในวันเสาร์ที่ 6 พ.ค.66


แฟน ๆ สามารถจองบัตรเข้าชมในสนามได้แล้วตอนนี้ที่ onefc.com/onefightnight10 พร้อมทั้งติดตามข่าวสารและความคืบหน้าของศึกนี้ได้ที่นี่และโซเชียลมีเดียของ ONE ทุกช่องทาง ได้แก่ เฟซบุ๊ก ONE Championship Thailand เว็บไซต์ www.onefc.com และอินสตาแกรม ONEChampTh  


ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

Cover_OFN22_WeiRui06
Youngest_Champions ONE 1920x1278
ZZZ_5900 scaled
OL 58 Jaosuayai vs Kongthoranee (30)
Jake Peacock web
OFN11   Regian Eersel vs Dmitry Menshikov44
ONE_TH adhoc 1920x1278 (1)
Kade and Tye Ruotolo
Untitled
Ryosuke Honda vs Sanzhar Zakirov OL 54(10)
Female Champs
Ricardo Bravo vs Kenan Bayramov OL50 (28)