ศิลปะการต่อสู้
นำบ้านแห่งศิลปะการต่อสู้สู่เอเชีย
ไม่ว่าจะเป็น คาราเต้, มวยไทย, กังฟู, ยูโด, กาลี, ซุยเจียว, เทควันโด, แซมโบ, ปันจักสีลัต หรือ ไอคิโด ศิลปะการต่อสู้ได้หยั่งรากลึกและเติบโตในทวีปเอเชียมาเป็นเวลากว่า 5000 ปี ซึ่งแทบทุกประเทศในดินแดนแห่งนี้ล้วนมีศิลปะการต่อสู้ของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และประเพณี และภายใต้กติกาการแข่งขันศิลปะการต่อสู้สากลที่ วัน แชมเปียนชิพ นำมาใช้ นักกีฬาจะได้แข่งขันในกีฬาการต่อสู้เต็มรูปแบบที่สามารถใช้ได้ทั้งเทคนิคการต่อสู้แบบ striking และ grappling จากศิลปะการต่อสู้อันหลากหลาย เราได้ผสมผสานความตื่นเต้นและพลังจากการแข่งขัน ประเพณีอันทรงเกียรติ และอะดรีนาลีนที่สูบฉีดไม่ต่างจากคอนเสิร์ตวงร็อคไว้ด้วยกัน จนคุณไม่อาจคลาดสายตาได้แม้เพียงเสี้ยววินาที
พิกัดน้ำหนัก
102.2 กก. – 120.2 กก.
93.1 กก. – 102.1 กก.
84.0 กก. – 93.0 กก.
77.2 กก. – 83.9 กก.
70.4 กก. – 77.1 กก.
65.9 กก. – 70.3 กก.
61.3 กก. – 65.8 กก.
56.8 กก. – 61.2 กก.
52.3 กก. – 56.7 กก.
47.7 กก. – 52.2 กก.
พิกัดน้ำหนักของ วัน แชมเปียนชิพ นั้นจะแตกต่างจากองค์กรจัดการแข่งขันศิลปะการต่อสู้ที่อื่นๆ โดย ONE เป็นผู้นำในวงการศิลปะการต่อสู้ที่ห้ามนักกีฬาลดน้ำหนักด้วยวิธีการทำให้สูญเสียน้ำในร่างกาย และเลือกใช้วิธีการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่านักกีฬาจะไม่ขาดน้ำ, สมบูรณ์แข็งแรง และมีสุขภาพที่ดีก่อนขึ้นสังเวียน
โปรแกรมใหม่ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกในกีฬาการต่อสู้นี้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักกีฬาด้วยการใช้ระบบ “น้ำหนักปกติ (walking-weight)” เป็นเกณฑ์ โดยผ่านการชั่งน้ำหนักและทดสอบทั้งก่อนและระหว่างสัปดาห์แข่งขัน จนถึง 3 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มต้น
“น้ำหนักปกติ (walking-weight)” ของนักกีฬาแต่ละคนจะถูกกำหนดตามระบบที่เข้มข้น ซึ่งจะมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่นักกีฬาคนดังกล่าวมีสัญญากับทาง ONE
ระบบการชั่งน้ำหนักที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากการหารือและให้คำแนะนำโดยทีมแพทย์และทีมจัดการแข่งขันของ วัน แชมเปียนชิพ ประกอบด้วย รองประธานฝ่ายบริการการแพทย์ ดร.วอร์เรน วอง, หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ ดร.เจมส์ โอกาโมโตะ, รองประธาน ริช แฟรงคลิน และ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและการแข่งขัน แมตต์ ฮูม
ข้อกำหนดและนโยบายเกี่ยวกับน้ำหนักของนักกีฬา
- นักกีฬาจะต้องแจ้งน้ำหนักปกติ (walking-weight) ณ ปัจจุบัน และน้ำหนักที่ชั่งหลังการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องกรอกข้อมูลทางออนไลน์ผ่านระบบเฉพาะ
- นักกีฬาแต่ละคนจะถูกจัดพิกัดน้ำหนักโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ส่งมารวมถึงการสุ่มชั่งน้ำหนัก และจะไม่สามารถลดพิกัดน้ำหนักลงได้หากเหลือเวลาก่อนการแข่งขันไม่ถึง 8 สัปดาห์
- ในระหว่างสัปดาห์ที่มีการแข่งขัน จะมีการชั่งน้ำหนักนักกีฬาทุกวัน และมีการตรวจความเข้มข้นของปัสสาวะ 1 วันหลังเดินทางมาถึงสถานที่แข่งขันและ 3 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน นักกีฬาจะต้องอยู่ภายในพิกัดน้ำหนักของตนและผ่านการตรวจน้ำในร่างกายตลอดสัปดาห์จนถึง 3 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน หากนักกีฬาไม่อยู่ในพิกัดน้ำหนักที่กำหนด หรือไม่ผ่านการทดสอบ จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันทันที ทั้งนี้ ทีมแพทย์อาจร้องขอให้มีการทดสอบเพิ่มเติมหากเห็นสมควร
- อนุญาตให้สามารถแข่งขันนอกพิกัดน้ำหนักโดยมีการตกลงกัน (Catchweight) ได้ โดยนักกีฬาที่มีน้ำหนักมากกว่าจะต้องหนักไม่เกิน 105% ของน้ำหนักคู่ต่อสู้
- ONE จะทำการสุ่มชั่งน้ำหนักนักกีฬาได้ทุกเมื่อตามดุลพินิจที่เห็นสมควร
- นักกีฬาสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนพิกัดน้ำหนักได้เมื่ออยู่นอกช่วงเวลา 8 สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน โดยน้ำหนักขณะนั้นจะต้องอยู่ภายในพิกัดใหม่ นอกเหนือจากนี้จะต้องผ่านการตรวจความเข้มข้นปัสสาวะในขณะที่น้ำหนักของนักกีฬาอยู่ในพิกัดน้ำหนักใหม่อีกด้วย ทีมแพทย์ของ ONE อาจร้องขอให้มีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาน้ำหนักที่นักกีฬาได้รับการอนุญาตให้ลดได้ในระยะเวลาที่กำหนด
- ไม่อนุญาตให้มีการใช้น้ำเกลือ (IVs) เพื่อเติมน้ำกลับสู่ร่างกาย
กฎกติกาและข้อบังคับการแข่งขัน
กฎกติกาการแข่งขันศิลปะการต่อสู้สากล
ONE Championship™ ใช้กฎกติกาการแข่งขันศิลปะการต่อสู้สากลในการแข่งขัน ซึ่งผสมผสานแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจากทั้งในเอเชียและทั่วโลกเข้าด้วยกัน
ระยะเวลาแข่งขัน
การแข่งขันแต่ละคู่มีกำหนด 3 ยกๆ ละ 5 นาที และมีการพัก 1 นาทีระหว่างยก
การแข่งขันชิงแชมป์มีกำหนด 5 ยกๆ ละ 5 นาที และมีการพัก 1 นาทีระหว่างยก
วิธีได้รับชัยชนะ
ชัยชนะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้:
- การชนะน็อก
- การทำให้คู่แข่งขันยอมแพ้โดยการตบไปที่พื้นหรือร่างกายของอีกฝ่าย (Submission)
- การขอยอมแพ้ด้วยวาจา
- การชนะน็อกโดยผู้ตัดสินสั่งยุติการแข่งขัน (Technical knockout)
- การขอยุติการแข่งขันโดยพี่เลี้ยงนักกีฬา
- การตัดสินของกรรมการ
การชนะโดยการตัดสิน
เมื่อการแข่งขันดำเนินไปจนครบทุกยก จะเข้าสู่ขั้นตอนการตัดสินของกรรมการ โดยกรรมการทั้ง 3 คนจะตัดสินจากภาพรวมของการแข่งขันทั้งหมด ไม่ใช่ยกต่อยก โดยนำเกณฑ์การตัดสินของ ONE มาจัดลำดับเพื่อชี้ขาดผู้ชนะจากการแข่งขันครั้งนั้น
เกณฑ์การให้คะแนนของ ONE
- การทำให้คู่ต่อสู้ใกล้เคียงกับการถูกน็อกเอาต์หรือยอมแพ้
- ความเสียหายจากการต่อสู้ (ภายใน, สะสม, บาดแผลที่เห็นได้ชัด)
- ความต่อเนื่องในการโจมตี และยุทธวิธีในกรง (การคุมเกมต่อสู้ภาคพื้น, ตำแหน่งที่ได้เปรียบกว่า)
- การทำให้คู่ต่อสู้ลงพื้น (Takedown) หรือการป้องกันตัวเองจากการทำให้ลงพื้น
- ความดุดันในการต่อสู้