Spotlight Sunday: “แอมเบอร์ คิตเชน” ชีวิตที่ถูกกำหนดมาเพื่อเป็นยอดมวยหญิง

amber cover

นักมวยสาวชาวสหราชอาณาจักร วัย 21 ปี “AK 47” แอมเบอร์ คิตเชน ก้าวสู่เวทีระดับโลก วัน แชมเปียนชิพ เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เธอเดินทางมาแล้วทั่วโลกเพื่อค้นหาคู่ต่อสู้ที่แกร่งที่สุด จนกระทั่งได้มาอยู่ท่ามกลางยอดนักสู้ฝีมือดีบนสังเวียนแห่งนี้

แอมเบอร์ คิตเชน เกิดและเติบโตในเมืองชายฝั่งทะเลเล็กๆ ของเมืองเพนแซนส์ ในคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ โดยใช้ชีวิตอยู่กับ พ่อ แม่ และน้องสาวฝาแฝด

 

“จูลี คิตเชน” แม่ของ แอมเบอร์

 

“จูลี คิตเชน” แม่ของเธอเป็นแชมป์โลกมวยไทย 14 สมัย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาการต่อสู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดของสหราชอาณาจักร ขณะที่ “นาธาน คิตเชน” พ่อของเธอ เป็นเทรนเนอร์ให้กับภรรยา และเจ้าของค่าย Touchgloves Gym

ชีวิตของ แอมเบอร์ จึงคลุกคลีอยู่กับศิลปะการต่อสู้ตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ แต่ในตอนที่เธอยังเด็ก เธอไม่เข้าใจว่าความสำเร็จของแม่นั้นยิ่งใหญ่ขนาดไหน

 

“อัลลายา” น้องสาวฝาแฝดของ แอมเบอร์

 

“ตอนฉันยังเด็กฉันไม่ได้นึกถึงเรื่องงานของแม่มากนัก มันดูเหมือนเป็นแค่เรื่องธรรมดา แต่ตอนนี้มันไม่ธรรมดาเลย พอมองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่แม่ทำทั้งหมด ฉันว่าแม่เก่งมากๆ”

“ฉันและน้องสาวมักจะอยู่กับพี่เลี้ยงบ่อยๆ เพราะพ่อแม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ (เพื่อแข่งขัน) ฉันจำได้ว่ารู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้รับโทรศัพท์จากพ่อแม่ ไม่ว่าแม่จะชนะหรือแพ้ก็ตาม ฉันก็ไม่ได้สนใจอะไร”

 

“แอมเบอร์ – อัลลายา” ฝาแฝดเมื่อวัย 3 ขวบ

 

หนูน้อยฝาแฝดเริ่มฝึกศิลปะการต่อสู้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ซึ่งพวกเขาทำด้วยความเต็มใจ โดยพ่อแม่ให้ทั้งคู่ตัดสินใจเลือกกีฬาที่ชอบด้วยตัวเอง 

“ฉันลองเล่นกีฬาหลายอย่างที่โรงเรียน ส่วนใหญ่จะเล่นเซิร์ฟ แต่ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ สุดท้ายก็มาจบที่มวยไทย”

“สมัยเรียนฉันเป็นคนเงียบๆ และมีเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ฉันเป็นเด็กเรียน จดจ่อกับการเรียน จนแทบไม่ได้ต่อยมวยมากนัก เพราะมัวแต่เคร่งอยู่กับเรียนให้ได้เกรดดีๆ”

 

ความสำเร็จในวัยเด็ก

 

ตั้งแต่เริ่มซ้อมมวย แอมเบอร์ ได้ลงสนามแข่งขันครั้งแรกตอนอายุเพียง 9 ขวบ จากนั้นเธอก็คว้าแชมป์เยาวชนของอังกฤษ, แชมป์ยุโรป และแชมป์โลกตามมา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนี้ไม่ได้ทำให้เธออยากทุ่มเทกับมวยไทยอย่างเต็มที่

“ฉันและน้องสาวเดินสายขึ้นชกในหลายรายการทั่วสหราชอาณาจักร และเรายังเป็นตัวแทนประเทศอังกฤษไปชกที่ตุรกี ไม่มีใครล้มฉันได้ในระดับเยาวชน”

“เราทั้งคู่เติบโตมาในค่ายมวยและซ้อมมวยตลอด แต่ฉันก็ชกบ้างไม่ชกบ้างระหว่างเรียนระดับประถมและมัธยม”

 

เรียนแทตทูที่เมืองไทย

 

จนกระทั่งอายุ 16 แอมเบอร์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย และแม้ว่าจะมาด้วยจุดประสงค์อย่างอื่น แต่เธอก็ตกหลุมรัก “ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 8” เข้าอย่างจัง

“ฉันเคยอยากเป็นช่างสักตามร่างกาย เพราะฉันเรียนศิลปะและการออกแบบที่วิทยาลัย และที่มาเมืองไทยตอนนั้นก็เพราะจะมาเรียนการแทตทูแบบใช้ไม้ไผ่ แต่พอมาถึง และได้ลองซ้อมมวยที่นี่ ฉันคิดว่านี่อาจเป็นสิ่งที่เหมาะกับฉันมากกว่า” 

 

จุดเปลี่ยนสำคัญ

 

ความสำเร็จในระดับเยาวชนและนามสกุล “คิตเชน” อันโด่งดัง ทำให้ทุกคนคาดหวังในตัว แอมเบอร์ สูงมาก และเมื่อมีการออกกฎใหม่ๆ ในสหราชอาณาจักรโดยไม่อนุญาตให้ชกศีรษะในการแข่งขันระดับเยาวชน รวมถึงกฎเพื่อการลดทอนความอันตรายลง บวกกับการไม่ได้ซ้อมอย่างจริงจัง ทำให้ แอมเบอร์ เจอกับปัญหาเมื่อขึ้นมาชกในระดับผู้ใหญ่

“ตอนนั้นฉันแพ้สามไฟต์รวด ก็เลยหยุดชก ยอมรับว่ามันส่งผลกระทบต่อจิตใจ และฉันไม่รู้ว่าฉันยังอยากจะชกมวยไทยอยู่อีกหรือเปล่า”

“ครั้งสุดท้ายที่ฉันแพ้ พ่อบอกกับฉันว่า ลูกต้องเข้ายิมพรุ่งนี้เช้าและซ้อมให้หนัก หรือจะยอมแพ้ไปเลยก็ได้ พ่อจะไม่ยอมเห็นลูกเจ็บตัวอีก’” 

 

“นาธาน” พ่อของ แอมเบอร์

 

นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต น้องสาวฝาแฝดของเธอเลือกที่จะเดินเส้นทางอื่นไปแล้ว แต่ แอมเบอร์ ยังไม่อยากยอมแพ้ เธอจะไม่เลิกชกมวยจนกว่าจะได้พิสูจน์ตัวเอง

“ยอมรับว่าตอนนั้นฉันผิดหวังและวิตกกังวลมาก ฉันแพ้สามไฟต์ แต่อีกใจฉันยังอยากพิสูจน์ตัวเอง ขอแค่ชนะซักไฟต์เท่านั้น ฉันก็มีความสุขแล้ว ฉันอยากประสบความสำเร็จกับอะไรบางอย่าง ดีกว่าเสียเวลาไปกับมันเฉยๆ” 

“ฉันรู้ว่าฉันยังจริงจังไม่มากพอเวลาซ้อม ฉันจึงพยายามดึงตัวเองขึ้นมา และซ้อมอย่างจริงจัง ตั้งแต่นั้นฉันก็ชนะทุกไฟต์”

 

เป้าหมายต่อไป

 

แอมเบอร์ ออกหาความท้าทายด้วยการลงสนามที่ใหญ่และเข้มข้นขึ้น จนเธอคว้าแชมป์โลก WBC มวยไทยของอังกฤษมาครอง แต่เธอยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น เธอยังมองหาคู่แข่งที่หินขึ้นในทุกๆ ครั้ง

“ฉันชกกับนักมวยหญิงมาร่วม 30 หรือ 40ไฟต์ และเดินทางไปแข่งตามที่ต่างๆ ห่างไกลจากบ้านเกิดในฐานะม้ามืด ฉันไปอเมริกาและได้ขึ้นชกกับนักมวยเก่งๆ ของที่นั่น ลึกๆ แล้วฉันไม่คิดว่าจะชนะหรอกนะ แต่พอขึ้นสังเวียน ฉันก็เป็นฝ่ายได้รับการชูมือ”

“ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ฉันเริ่มเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าฉันสามารถไปได้สวยในวงการนี้หากตั้งใจฝึกฝน และซ้อมให้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้”

 

 

ผลงานปัจจุบันที่โดดเด่นและสายเลือดนักสู้ ทำให้ แอมเบอร์ ได้โอกาสเข้ามาอยู่ในชายคาขององค์กรศิลปะการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง วัน แชมเปียนชิพ ที่ซึ่งเธอจะสร้างชื่อเสียงของตัวเองในระดับสากล

“การเซ็นสัญญากับ ONE เป็นเสมือนความฝันของนักกีฬาทุกคน เพราะที่นี่คือแพลตฟอร์มกีฬาการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุด”

“ฉันนึกไม่ออกจริงๆ ว่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้แล้ว นี่เป็นก้าวสำคัญและยิ่งใหญ่ ฉันจึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ และทำผลงานให้ดีในการพบกับนักสู้ที่ดีที่สุดของโลก แน่นอนว่าเป้าหมายหลักของฉัน คือการคว้าแชมป์โลกของ ONE ให้ได้”

 

 

อ่านเพิ่มเติม:

ดูเพิ่มเติมในหมวด บทความ

OFN11   Regian Eersel vs Dmitry Menshikov44
ONE_TH adhoc 1920x1278 (1)
Kade and Tye Ruotolo
Untitled
Ryosuke Honda vs Sanzhar Zakirov OL 54(10)
Female Champs
Ricardo Bravo vs Kenan Bayramov OL50 (28)
Nong O Hama Jonathan Haggerty ONE Fight Night 9 4
Cover_OL49_Freddie03
Takeru Segawa
10_Athletes 1920x1278
OFN14   Stamp VS Ham Seo Hee (108)